บริษัท ทูเวย์ เรดิโอ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
ที่ตั้งอาคารเลขที่ 2828,2830 ซอยลาดพร้าว 128/4 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
เลขทะเบียนบริษัท 0105553060108 ทุนจดทะเบียน 7 ล้านบาทชำระแล้ว จดจัดตั้ง วันที่ 12 พฤษภาคม 2553
ประเภทธุรกิจ : จำหน่าย ให้เช่า ติดตั้งวางระบบวิทยุสื่อสารพร้อมบริการดูแลหลังการขายครบวงจร
กลุ่มธุรกิจ ทูเวย์ เรดิโอ แบ่งได้เป็นประเภทหลัก ดังนี้
- จำหน่ายวิทยุสื่อสาร
- บริการให้เช่าวิทยุสื่อสาร
- ศูนย์บริการซ่อมวิทยุสื่อสาร
- รับวางระบบสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณ
- บริการติดตั้งเสาวิทยุสื่อสารติดตั้งรถยนต์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชนและบุคคลทั่วไป
- บริการติดตั้งเสาวิทยุสื่อสารติดตั้งรถบิ๊กไบค์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชนและบุคคลทั่วไป
- บริการติดตั้งเสาสัญญาณวิทยุสื่อสารภายในและภายนอกอาคาร
- บริการติดตั้งเสาทาวเวอร์สำหรับระบบวิทยุสื่อสาร ระบบกล้องวงจรปิด ระบบเสาไวไฟ
- บริการติดตั้งวางระบบกล้องวงจรปิด
- จำหน่ายอุปกรณ์ป้องกันภัย PPE
- จำหน่ายอุปกรณ์จราจรทุกชนิด
วิทยุสื่อสาร จัดโปรโมชั่นตอนนี้
วิทยุสื่อสารราคาพิเศษ
วิทยุสื่อสาร SPEEDER รุ่น SP-IX5
Original price was: ฿2,400.฿1,790Current price is: ฿1,790.วิทยุสื่อสาร FUJITEL รุ่น RS-12
Original price was: ฿2,000.฿1,790Current price is: ฿1,790.วิทยุสื่อสาร ALINCO รุ่น DJ-CRX2
Original price was: ฿2,100.฿1,890Current price is: ฿1,890. วิทยุสื่อสารรุ่นยอดนิยม
วิทยุสื่อสาร ICOM รุ่น IC-50FX PLUS (แบตBP-280)
Original price was: ฿8,500.฿6,750Current price is: ฿6,750.วิทยุสื่อสาร ICOM รุ่น IC-86FX (ชุดใน Battery BP-264)
Original price was: ฿4,500.฿4,200Current price is: ฿4,200.วิทยุสื่อสาร MOTOROLA รุ่น CP246i
Original price was: ฿7,500.฿6,950Current price is: ฿6,950. สินค้าแนะนำ
แบรนด์ชั้นนำ
เราจะเลือกวิทยุสื่อสารอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด?
ทำความรู้จักกับวิทยุสื่อสารกันก่อนเลือกซื้อสินค้า
วิทยุสื่อสารแบ่งเป็นแต่ละประเภทดังนี้
วิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน
- ความถี่ 245-247 MHz , 27 MHz
วิทยุสื่อสารสำหรับสมัครเล่น
- ความถี่ 144-147 MHz
วิทยุสื่อสารสำหรับราชการ
- ความถี่ 136-174 MHz
วิทยุสื่อสารสำหรับเฉพาะกิจ
- วิทยุสื่อสารระบบเครือข่าย Trunked Radio
- วิทยุสื่อสารสำหรับการบิน
- วิทยุสื่อสารสำหรับเรือ
- วิทยุสื่อสารกันระเบิด
วิทยุสื่อสารใส่ซิมสำหรับกิจการทุกประเภท
ข้อกำหนดการใช้วิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน คลื่นความถี่ 245.000-247.000MHz
เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปและองค์ต่างๆสามารถใช้งานได้ ส่วนใหญ่การใช้งานจะเป็นลักษณะการสื่อสารเพื่อประสานงานกันในกลุ่ม โรงแรม โรงงาน ศูนย์การค้า งานรักษาความปลอดภัยหรืออีเว้นท์ต่างๆ ข้อดีของวิทยุสื่อสารเครื่องแดงสำหรับประชาชนคือเราไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนหรือรายปี แต่ตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าการใช้งานที่ถูกต้องจะมีรายละเอียดดังนี้
- วิทยุสื่อสารจะต้องเป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานจากหน่วยงาน สำนักงาน กสทช. โดยเครื่องจะต้องมีสติ๊กเกอร์ตราครุฑติดไว้ที่ด้านหลังของตัวเครื่อง โดยมีอักษรย่อ NTC.ID___ติดที่สินค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเช่นหมายเลขของประเภทวิทยุสื่อสาร-หมายเลขของผู้ขออนุญาตนำเข้าเป็นต้น
- วิทยุสื่อสารที่มีกำลังส่งไม่เกิน 0.5วัตต์หรือ 500 มิลลิวัตต์ ยกเว้น ไม่ต้องจดขออนุญาตใช้
- วิทยุสื่อสารที่มีกำลังส่งมากกว่า 0.5วัตต์ หรือ 500 มิลลิวัตต์ ขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนขออนุญาตใช้เครื่องตามประกาศของสำนักงาน กสทช. อัตราค่าธรรมเนียมและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขออนุญาต คลิกดูที่ลิงค์นี้
วิทยุสื่อสารสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
เป็นเครืองสีดำความถี่ใช้งานตามที่สำนักงาน กสทช.กำหนด ย่านความถี่144.000-147.000 MHz โดยจะใช้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น และจะต้องสอบผ่านจาก กสทช. ได้ใบประกาศนียบัตรมาเรียบร้อยแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้ และต้องมีการขอนามเรียกขาน เพื่อเอาไว้เรียกแทนตัวเองด้วย
วิทยุสื่อสารสำหรับหน่วยงานราชการ
วิทยุสื่อสารเครื่องดำหรือบางยี่ห้อบางแบนด์ก็เป็นสีเขียวขี้ม้า ย่านความถี่ 136-174MHz สำหรับผู้ที่ทำงานเป็นข้าราชการ เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชนที่ได้รับอนุญาต และเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ เท่านั้น โดยกลุ่มคนเหล่านี้สามารถใช้วิทยุสื่อสารประเภทนี้ได้โดยข้อกำหนดการใช้งานจะเป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศซึ่งอาจไม่ต้องขอใบอนุญาตจาก กสทช. แต่จะต้องพกบัตรประจำตัวที่หน่วยงานออกให้ติดตัวไปด้วย
วิทยุสื่อสารสำหรับเฉพาะกิจ
- วิทยุสื่อสารระบบเครือข่าย Trunked Radio
วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจในย่านความถี่ 800 MHz ที่ CATเป็นผู้ให้บริการ สำหรับการใช้งานระบบนี้เพื่อติดต่อสื่อสารในลักษณะแบบกลุ่ม จัดให้มีบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การประสานงานภายในกลุ่มของคุณ สามารถติดต่อกันโดยอัตโนมัติในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยข้อมูลข่าวสารที่ติดต่อกันจะเป็นความลับเฉพาะกลุ่มของคุณ ลูกค้าที่ใช้บริการมีหลากหลายกลุ่มธุรกิจอาทิเช่น บริษัทประกันภ้ย บริษัทขนส่ง การสื่อสารมวลชน โรงพยาบาล โรงแรม และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น
- วิทยุสื่อสารสำหรับการบิน
เครื่องวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการควบคุมจราจรทางอากาศและประสานงานภาคพื้นดินที่เราเห็นเจ้าหน้าที่ใช้ตามสนามบินหรือ ทหารอากาศ
- วิทยุสื่อสารสำหรับเรือ
วิทยุสื่อสารมารีนแบนด์ คลื่นความถี่ 152.025-160.025 MHz คุณสมบัติผู้ใช้งานคือจะต้องเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสัญจรทางน้ำโดยมีใบอนุญาตประกอบกิจการทางน้ำและใบอนุญาตจาก สำนักงาน กสทช.จึงจะสามารถใช้งานได้ ลักษณะการใช้งานเพื่อติดต่อประสานงานระหว่างเรือหรือท่าเรือ
- วิทยุสื่อสารกันระเบิด
วิทยุสื่อสารที่ใช้งานแบบผ่านเครือข่ายและไม่ผ่านเครือข่าย คุณสมบัติหลักคือตัวเครื่องต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยด้านการเกิดประกายไฟ Ex(Explosion Proof) โดยผ่านการรับรองจากหน่วยงานแต่ละมาตรฐานเช่น FM, UL, ATEX คือวิทยุสื่อสารต้องไม่เกิดประกายไฟแม้วงจรช๊อต เหมาะอย่างยิ่งสำหรับกิจการทั่วไปที่ต้องการความปลอดภัย เช่นโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม สำหรับกลุ่มพลังงาน เช่นโรงกลั่นน้ำมัน โรงงานที่มีความเสี่ยงเช่นสารละเหยก๊าซวัตถุไวไฟ
- วิทยุสื่อสารใส่ซิมสำหรับกิจการทุกประเภท
วิทยุสื่อสารระบบ POC คือการใช้งานผ่านเครือข่าย ระบบ 3G 4G ที่ต้นทุนต่ำ เนื่องจากการใช้งานที่สะดวกและไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทางระหว่างสื่อสาร จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้ทุกประเภท หน้าที่หลักของระบบนี้คือการจัดการงานและการสั่งการ งานบริการต่าง ๆ สำหรับองค์กร สถาบันและกลุ่มต่างๆ ส่วนใหญ่สำหรับผู้ใช้งานเป็นกลุ่ม เช่น หน่วยรักษาความปลอดภัยสาธารณะ บริการขนส่งหน่วยดับเพลิง โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้านการขนส่ง การบินในสนามบิน การชุมนุมขนาดใหญ่ ฯลฯ ด้วยความครอบคลุมที่กว้างขวางและต้นทุนต่ำ จึงสามารถปรับการใช้งานให้เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเหล่านี้ เช่นเหตุฉุกเฉินหรือต้องการสื่อสารแบบกลุ่มที่อยู่ต่างพื้นที่กัน เป็นต้น